ก่อกำเนิด HR รุ่นใหม่

ความสุขอยู่ที่มุมมอง

มีใครเคยรู้สึกเบื่อหรือเคว้งเวลาทำงาน  หรือรู้สึกว่าตนเองก็ได้แต่ทำงานให้เสร็จไปวัน ๆ บ้างไหมคะ ความรู้สึกแบบนี้ สำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องปกติ สามารถอยู่กับมันอย่างมีความสุข แต่สำหรับหลาย ๆ คน มันอาจจะเป็นความรู้สึกที่เป็นพิษ ที่ค่อย ๆ บั่นทอนแรงกายแรงใจไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าใครเป็นอย่างหลัง วันนี้ ผู้เขียนมีวิธีการกำจัดพิษมาเสนอค่ะ

กำจัดพิษร้ายด้วยการเปลี่ยนมุมมอง หาคุณค่าของงานเรา

วิธีกำจัดพิษอาจจะมีได้หลายวิธี แต่วิธีที่ผู้เขียนคิดว่าใช้ได้ดี และมีความยั่งยืนคือการเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ตนทำอยู่

เมื่อปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสดูภาพยนต์อนิเมะญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงวิธีนี้ได้เป็นอย่างดี เรื่องชื่อว่า Violet Evergarden เป็นเรื่องของเหล่าตัวละครที่ทำงานในที่ทำการไปรษณีย์ สิ่งที่เห็นได้ชัดในเรื่องคือ มุมมอง​ของตัวละครที่มีต่องานบุรุษไปรษณีย์​ค่อย ๆ เปลี่ยนไป จากการส่งจดหมายไปวัน ๆ สู่การเป็นตัวกลางในการนำส่งความสุข และการเชื่อมสายใยระหว่างผู้คน ‘’Postmen deliver happiness’’

มีใครรู้สึกเหมือนผู้เขียน ถึงความประทับใจที่ผุดขึ้นมา และรู้สึกถึงคุณค่าของงานบุรุษไปรษณีย์​ที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อนไหมคะ

มุมมองเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดวิธีการมองโลกของเรา ซึ่งมีผลกับการตอบสนองเชิงอารมณ์และการกระทำของเราต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ถ้าเรามองว่าความผิดพลาดคือปัญหา เราก็อาจจะรู้สึกท้อแท้และไม่สู้ต่อ แต่ถ้าเรามองว่ามันคือโอกาสที่จะได้เรียนรู้ เราอาจจะรู้สึกขอบคุณมันและพยายามทำให้ดีขึ้น

เช่นเดียวกันกับการทำงาน ถ้าเราลองปรับมุมมอง นิยามงานเราใหม่ เราก็จะเห็นถึงคุณค่าของงาน และความรู้สึกเชิงลบก็จะกลายเป็นบวก นอกจากนั้นเป้าหมายกับสิ่งที่เราทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในงานก็จะถูกยกระดับไปด้วย

เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ

ถึงตรงนี้ คงมีคนเริ่มตั้งคำถามแล้วว่า เราควรทำอย่างไร เริ่มตรงไหน ถึงจะเปลี่ยนมุมมอง และเห็นคุณค่าของงานที่ทำอยู่ได้

เราสามารถเริ่มจากการลองนำหลัก Omotenashi หรือหลักการให้บริการของคนญี่ปุ่นไปปรับใช้ในงานของเราดู หลักการนี้สามารถทำได้ด้วยการเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี และเหนือความคาดหมายให้กับลูกค้า โดยการคิดเผื่อถึงปัญหาที่แม้แต่ตัวลูกค้าเองก็อาจจะไม่รู้ว่ามี

ตัวอย่างเช่น การที่มีพนักงานร้านอาหารมากลับทิศของรองเท้าที่เราถอดไว้หน้าร้านให้ เพื่อที่เราจะไม่ต้องเสียเวลาทำเองตอนออกจากร้าน หรือพนักงานฝ่ายบัญชีที่เพียงแค่ยิ้มแย้ม เวลามีพนักงานจากแผนกอื่นมาถามเรื่องการเบิกจ่าย เพื่อทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือ เป็นต้น

จะสังเกตได้ว่าสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พนักงานข้างต้นทำเพิ่มนั้นไม่ได้เกี่ยวกับการบริการหลักของธุรกิจของพวกเค้าโดยตรง หรือมีเป้าหมายในการทำ KPI ให้สูงขึ้น แต่เป็นการกระทำที่มาจากความคิดที่ว่า เราจะทำให้ลูกค้ามีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร

เมื่อเราทำตามหลักการ Omotenashi เราจะได้คิดและค้นหาไปในตัวด้วยว่า ลูกค้าเราคือใคร เค้ามีความรู้สึก ความคาดหวังอะไรที่มาใช้บริการเรา และความสบาย หรือประโยชน์อะไรที่เราสามารถสร้างให้ได้บ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละ ที่จะทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าในงาน เห็นถึงความหมาย มุมมองใหม่ ๆ และจุดประสงค์ที่ลึกซึ้งมากกว่าเดิมของสิ่งที่ตัวเองทำโดยอัตโนมัติ หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า Ikigai นั่นเอง

สุดท้ายนี้ อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการที่เราได้พบปะลูกค้า ได้เห็นความสุขของพวกเขาจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราทำให้ ได้เห็นผลจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง

มุมมองเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน

เพียงแค่เราลองเริ่มจากการทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อลูกค้าตามแนวคิด Omotenashi และได้สัมผัสถึงคุณค่าของสิ่งที่เราทำผ่านรอยยิ้มของพวกเค้า ปรับเปลี่ยนมุมมองจากงานธรรมดา ๆ เป็นงานส่งความสุข ความรู้สึกว่างเปล่าและไร้เป้าหมาย ก็อาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันที่ทำให้เราตื่นมาทำงานทุกเช้าก็ได้

มาลองกำจัดพิษร้ายด้วยกันนะคะ

——————-

> Subscribe เพื่อติดตามข่าวสารน่าสนใจ และบทความแนะนำที่คนทำงานไม่ควรพลาด:
https://asian-identity.com/hr-egg-th/subscribe

> ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือคุยกับที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล:
https://asian-identity.com/hr-egg-th/contact

 

Credit: รูปของ Tim Mossholder จากเว็บ Pexels

 

Suggest Section

Identity Leadership Journey (for TH) Batch#33

สร้างความเป็นผู้นำในแบบของตน ผ่านเวิร์คช็อปที่จะทำให้ทุกท่านได้สำรวจ และรับรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ประเด็นปัญหาและสไตล์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของ Leadership

รายละเอียดเพิ่มเติม

จบการศึกษาปริญญาโทด้านจิตวิทยาองค์กรจาก University of Kent ประเทศอังกฤษ มีประสบการณ์การทำวิจัยร่วมกับนักจิตวิทยามืออาชีพ ในเรื่องของความเครียดในการทำงาน รวมถึงการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร และยังเคยได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการทำโปรเจคเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการถ่ายทอดความรู้ปรัชญาให้แก่พนักงานในองค์กร

Latest Events

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for TH) #Batch 33

23-24 May 2024

[สัมมนาฟรีออนไลน์] New era of Coaching – Enhance synergy of managers through dialogue

21 May 2024, Online webinar (ZOOM) บรรยายด้วยภาษาอังกฤษ

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for JP) #Batch 34

21-22 Jun 2024

[สัมมนาฟรี] Free Demo “Manager’s Reflective Synergy” 〜หลักสูตรการเรียนรู้แบบสะท้อนย้อนคิดและการสนทนาเพื่อการโค้ชผู้นำสไตล์ CoachingOurselves พัฒนาโดย Henry Mintzberg

25 Jun 2024, Asian Identity office

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY #Batch35 in Tokyo

11th - 12th July 2024, Ginza Tokyo

Manager’s Dilemma – Management Simulation Board Game (for TH)

7 Aug 2024 , @Asian Identity office, Hatch room (face-to-face workshop)

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for JP) #Batch 36

13-14 Sep 2024

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for TH) #Batch 37

17-18 Oct 2024

HR College in Thailand (for JP) Batch #16

Day 1: 8 Oct 2024 / 9:00〜17:00
Day 2: 15 Oct 2024 / 9:00〜17:00

Basic Professional Mindset Workshop

7 Nov 2024, Asian Identity Hatch Room

[Event Ended] คอร์สฝึกอบรมทักษะการบริหารองค์กรที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม – สู่การเป็นผู้บริหารและการพัฒนาองค์กรในประเทศไทย (for JP) #Batch 6

16 Feb 2024, @Asian Identity office, Hatch room (face-to-face workshop)

Latest EGG blog

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น จริงหรือ ? - ถอดรหัส “ความพยายาม” ด้วย Growth Mindset

Please Mind the Gap between… — On Generations Z

แชร์ประสบการณ์ Self-Reflection – การรู้จักตนเองสอนอะไรเราได้บ้าง

What we talked about when we talk about “Safe”

เรายินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลในอาเซียน
เช่น การพัฒนาบุคลากร และ การบริหารองค์กร เป็นต้น

ติดต่อเรา

หากท่านต้องการสอบถาม ปรึกษา หรือ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และ Workshop ต่าง ๆ กรุณากรอกข้อมูลของท่านลงในแบบฟอร์มสำหรับสอบถาม

ติดต่อทางโทรศัพท์

เราให้บริการในวันธรรมดา 9:00 - 18:00 ตามเวลาในประเทศไทย (หรือเวลา 11:00 - 20:00 ของประเทศญี่ปุ่น)